เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [6. ปาสาทิกสูตร]
ทิฎฐินิสัยที่สหรคตด้วยขันธ์ส่วนอนาคต

คือ
1. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
ที่มีรูป ยั่งยืน1หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
2. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
ที่ไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
ฯลฯ
3. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
ทั้งที่มีรูปและไม่มีรูป ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ ฯลฯ
4. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
จะว่ามีรูปก็มิใช่ จะว่าไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
5. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
ที่มีสัญญา ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
ฯลฯ
6. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
ที่ไม่มีสัญญา ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’ ฯลฯ
7. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
จะว่ามีสัญญาก็มิใช่ จะว่าไม่มีสัญญาก็มิใช่ ยั่งยืน หลังจากตายแล้ว
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ
8. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อัตตา
ย่อมขาดสูญ พินาศ ไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นไม่จริง’ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ยั่งยืน แปลจากคำว่า อโรค อรรถกถาอธิบายว่า นิจฺจ แปลว่า เที่ยง ยั่งยืน คงที่ เพราะไม่แตกดับไป
(ที.สี.อ. 76-77/109, ที.สี.ฏีกา 76-77/208)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :155 }